สังเวียนไก่ชน

ข่าวสารวงการไก่ชน ไก่ชนออนไลน์ ตารางแข่งขันไก่ชน รับชมถ่ายทอดสดไก่ชนจากเพื่อนบ้าน

Login

ไก่ชนที่แข็งแรงสมบูรณ์

เว็บไก่ชน

การฝึกชั้นเชิงให้ไก่ชน เป็นการบริหารกล้ามเนื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ร่างกายส่วนต่างๆ ของไก่เกิดความเคยชิน ต่อการเคลื่อนไหว การจู่โจม
ไก่ชนที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมลงสนามชนได้นั้น ต้องมีการฝึกฝน การเคลื่อนไหว การจู่โจม หรือการปะทะที่จะเกิดจากการต่อสู้ อวัยวะส่วนต่างๆ นับตั้งแต่ใบหน้า ลำคอ ปีก โคนปีก ลำปีก หน้าอก ตลอดลงไปจนถึงปั้นขาแข้งต้องมีความแข็งแรง แข็งแกร่งและทนทาน ฟิตไปทั้งตัว พร้อมที่จะต่อสู้เสมอ หากออกกำลังกายหรือฝึกซ้อมไม่เพียงพอ โอกาสแพ้จะมีสูง ดังนั้น จึงต้องซ้อมให้หนัก รีดไขมันออกให้หมด “ระหว่างการซ้อมและบริหารกล้ามเนื้อจะต้องควบคุม น้ำหนัก โดยจับชั่งน้ำหนักอยู่เสมอ”
คอยสังเกตดูว่า ไก่ที่ดีที่สุดในช่วงน้ำหนักขนาดไหน แล้วจึง รักษาระดับไว้ให้ได้ตลอดไป หากน้ำหนักมากหรือน้อยไป จะมีผลต่อการดี หรือเสียเปรียบได้ง่าย วิธีการการบริหารกล้ามเนื้อ จะต้องทำหลังจากการอาบน้ำไก่แล้ว คือ บริหารตอนที่ร่างกายของไก่ กำลังหมาดๆ น้ำอยู่ เช่น
การซ้อมนวม(ลงนวม) มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้ไก่ได้ออกกำลังกาย และฝึกชั้นเชิงการชน ให้รู้จักหลบหลีกหรือเข้าทำคู่ต่อสู้ เราจะได้เห็นเชิงไก่แต่ละตัวรู้ว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งตรงไหน ช่วยให้สามารตัดสินใจได้เวลาเปรียบคู่ หรือรู้ว่าจะต่อสู้กับไก่ประเภทไหนจึงจะได้เปรียบคู่ซ้อมลงนวม หรือไก่นวมควรมีหลายตัว มีทั้งไก่เชิงล่างและเชิงบน รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ที่ห่อปากหรือกระจับปาก นวมสวมเดือย ป้องกันไม่ให้ไก่บาดเจ็บ วิธีการ นำไก่2ตัว ซ้อมกันเหมือนซ้อมคู่หรือปล้ำไก่โดยทั่วไป แต่เดือยและแข้งไก่ต้องพันด้วยนวมหนาๆ และสวมกระจับปาเพื่อป้องกันไม่ให้ไก่จิกกันได้ มีขั้นตอนดังนี้
1. ควรอาบน้ำไก่เหมือนปกติที่ปล้ำ บางคนลงนวมแห้ง คือ ไม่กราดน้ำ ซึ่งผิดหลัก เพราะจะทำให้ ไก่หอบมากเป็นอันตรายต่อระบบปอด หัวใจและดับ ไก่ที่เดือยยาว ควรพันเดือย ชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงใช้นวมพันทับอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันเข้าหูเข้าตา การลงนวมควรใช้กระจับปากเป็นดีที่สุด เพราะช่วยป้องกันปากไม่ให้กระเตาะหรือปืน ไก่แม้จะสวมนวม แต่อาจใช้นิ้วสาดถูกปากกระเดาะได้เหมือนกัน การลงนวมไก่ ควรเลือกคู่ที่เหมาะสม
เป็นการใช้ไก่ที่มีชั้นเชิง และมีความแข็งแกร่งที่ใกล้เคียงกัน แม้ว่าจะเป็นการลงนวมที่ถูกต้อง ในกรณีที่ไก่งานหรือไก่ที่เลี้ยงออกแข่ง จะเป็นไก่หนุ่มไม่ควรใช้ไก่ถ่ายเป็นไก่นวมหรือคู่นวม เพราะจะทนแรงเสียดสีไม่ได้ และทำให้เข็ดไก่ ไก่นวม ก็ไม่ควรใช้ไก่ที่ชอบสาดแข้งเปล่า เพราะจะทำให้ไก่งานบอบช้ำ ไก่นวม หรือไก่ที่ใช้เป็นคู่นวมอย่างเดียว และควรตัดเดือยให้ราบแข้ง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ระยะเวลาของการลงนวม ควรใช้เวลา ประมาณ 25 – 30 นาที
หรือถ้าเป็นไก่ใหม่ๆ อาจใช้สัก 15 นาที ในทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสภาพของไก่ ตามจำนวนยกของการลงนวม การลงนวมแต่ละครั้งควรลงนวมครั้งละ 1 ยก แต่ถ้าไก่แข็งแล้ว อาจลง2 ยกก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคนเลี้ยงและสภาพของไก่ และความถี่ของการลงนวม การลงนวม เว้น2-3 วันต่อครั้ง บางคนลงนวมทุกวันทำให้ระอาและ คิดไก่ในที่สุดไก่บางตัวไม่ชอบลงนวม แบบสวมกระจับปากก็อย่าฝืนจนเกินไป
2. เทคนิคการกราดน้ำ และกราดแดดไก่ชน การเลี้ยงไก่ชน เรามีไก่เก่งอย่างเดียวไม่พอ ความสมบูรณ์และแข็งแรงของไก่ก็เป็นสำคัญอย่างหนึ่ง กรากราดน้ำและกราดแดดจึงมีความสำคัญ ไม่แพ้กันกับการออกกำลังกายหรือการกินอาหารบำรุง ขณะเดียวกันการกราดน้ำและการกราดแดด ก็มีโทษเช่นกันเพราะตามวิสัยของไก่ไม่ชอบกับการกราดน้ำเลยถ้ามีเทคนิคในการกราดน้ำอาจเป็น โทษมากกว่าจะเป็นประโยชน์ ดังนั้นในการกราดน้ำและกราดแดดจึงมีเทคนิคดังนี้ การกราดน้ำ ไก่ชน ปกติในการกราดน้ำไก่ชนจะใช้น้ำได้ 2 วิธีด้วยกันคือน้ำอุ่น (เป็นน้ำยาสมุนไพร) กับน้ำเย็น ที่ดักมาจากโอ่งที่เราเก็บไว้ซึ่งมีความแตกต่างกัน
การซ้อมไก่ (การปล้ำ) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ไก่ได้ออกกำลังกาย ฝึกชั้นเชิงการชน ดูความอึด ความอดทน เมื่อถูกดี ดูความแข็งแรงของร่างกาย ดูน้ำใจ ลูกล่อลูกชน การซ้อมไก่นี้ ควรจะทำเมื่อไก่มีอายุ 10 เดือนขึ้นไป ถ้าอายุน้อยเกินไป ยังไม่แกร่ง เชิงยังอ่อน หากถูกคู่ต่อสู้ทำเอา มากๆ จะแหยงกลายเป็นไก่ไม่สู้ ขี้แพ้ได้ และคู่ปล้ำครั้งแรกต้องเป็นไก่เชิงอ่อนกว่าเล็กน้อย หรืออาจจะ มีขนาดเล็กกว่าเพื่อจะล่อให้ไก่หลักมีกำลังใจไว้ชั้นหนึ่งก่อนเมื่อกำลังใจดีแล้วค่อยๆ ได้ขั้นซ้อมปล้ำ กับไก่ที่มีระดับขึ้นไป การเอาไก่คู่ซ้อมที่มีฝีมือเหนือกว่าโดยทันทีบางครั้งอาจถูกคู่ซ้อมปล้ำดีเอา อย่างแรง เป็นเหตุให้ไก่ขยาด กลายเป็นไก่ไม่สู้หรือเสียไก่ได้ ในการซ้อมปล้ำนี้ควรสลับซ้อมกัน ทั้งไก่เชิงล่างเชิงบนเสมอเพื่อให้เกิดความชำนาญวิธีการอาบน้ำหรือกราดน้ำให้ไก่ทั่วตัว แต่อย่าให้ตัวเปียกมากให้ไก่กินข้าวสุกบดประมาณ 3-4 ก้อน พันตอสวมนวมเดือย ซ้อมเป็นอันหรือยก ครั้งแรกๆ อย่าให้นานเกินไป อาจไม่ต้องครบอัน ถ้าเห็นไก่ถูกตีถูกเตะหนักมาก ก็ควรจะรีบแยกออกก่อน การซ้อมครั้งต่อๆ ไปจึงค่อยเต็มยก ขณะเดียวกันต้องคอยสังเกตเชิงการต่อสู้ ดูลำหักลำโค่นไหวพริบความว่องไว
สรุปความสามารถไก่ว่ามีจุดดีจุดอ่อนอย่างไร การซ้อมแต่ละครั้ง ไหวพริบดีขึ้นหรือเลวลงการซ้อมไก่ ควรจะทำเดือนหนึ่งเพียง 2 ครั้ง หลังซ้อมทุกครั้งต้องตรวจดู เนื้อตัวให้ทั่ว อาจมีบาดแผลต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็ว อย่าทิ้งไว้ให้หายเอง การซ้อมใหม่จะต้อง ให้ร่างกายสมบูรณ์เสียก่อน เมื่อเห็นว่าไก่มีแววเป็นไก่เก่งใช้ได้ คือมีชั้นเชิงดี เดินดี ดีแม่น ดีเจ็บปวด แข็งแรง อึดทน ใจสู้ไม่เหนื่อยหอบง่ายก็คัดเข้าเลี้ยงได้เลยส่วนไก่เดาะก็คัดออกไป
การล่อไก่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ไก่ได้ออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง กล้ามเนื้อ ทุกส่วนแข็งแกร่ง การล่อจะเป็นการฝึกให้ไก่ออกกำลังกายโดยการวิ่ง กระโดด และบิน ซึ่งการล่อไก่นี้ จะทำหลังจากที่ผ่านการลงนวมมาแล้ว ส่วนมากจะทำการ ล่อในช่วงเช้า การล่อไก่มีหลายวิธี ดังนี้
การล่อให้วิ่งสุ่ม (ฝึกกำลังขา) ใช้สุ่มตาถี่ 2 ใบครอบซ้อนกัน ด้านในครอบไก่ล่อขังไว้ในสุ่ม ปล่อยให้ไก่ซ้อมไล่จิกอยู่นอกสุ่ม และวิ่งเลาะไปรอบๆ สุ่ม คอยจับเวลาประมาณ 20-30 นาที ถ้าไก่ซ้อม ไม่อยากวิ่ง อาจยั่วให้ดุจนวิ่งไล่ หรือให้คนเข้าไปจับไก่ล่อในสุ่ม ให้ไก่ซ้อมวิ่งเลาะไล่ดี การฝึกหรือ ออกกำลังด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะทำหลังการล่อไก่มาแล้ว เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกสายตา ความไว ความคล่องตัว ความฉลาดและไหวพริบในการหาวิธีดีไก่ที่อยู่สุ่มให้ได้ หากไม่ใช้สุ่ม อาจเปลี่ยนเป็นตาข่ายกั้นระหว่างไก่ สองตัวแทน
การล่อให้เตะเป้า (ฝึกกำลังขา และกำลังปีก) การล่อให้เตะเป้า คือการฝึกให้ไก่ชนได้ฝึกตี คู่ต่อสู้ โดยคู่ต่อสู้ไม่ได้ตีโต้ตอบ ทั้งนี้เพื่อให้ไก่ชนได้มีประสบการณ์ ได้ออกกำลังฝึกความคล่องตัว ว่องไวฝึกนิสัยในการไล่ตีคู่ต่อสู้ รู้จักใช้ปากและสายตา ฝึกหลบหลีก และเป็นการยั่วยุให้ไก่ดูและได้ใจ ไก่จะไม่บอบช้ำ สามารถฝึกได้ทุกวัน ทำได้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 อุ้มไก่ล่อโดยตรง ไม่มีอุปกรณ์เสริม ผู้ฝึกอุ้มไก่ตัวล่อเหวี่ยงไปเหวี่ยงมา ให้ไก่ตัวซ้อมไล่ดี ในขณะที่ไก่ซ้อมกระโดดทำท่าจะจิก ให้ยกไก่ตัวล่อหนีบ้างเป็นบางครั้ง เพื่อให้ ไก่ซ้อมกระโดดตาม ในขณะล่อไก่นั้น ควรมีการเอาแข้ง ขา ของไก่ตัวล่อตีเข้าที่ไก่ตัวซ้อมบ้าง เพื่อให้ รู้จักเจ็บและเป็นการกระตุ้น ยั่วยุให้ไก่ดุ และอยากดีมากขึ้น
และวิธีที่ 2 เป็นการนำไก่ล่อเป้าใส่กระเป๋าล่อ ซึ่งผู้ฝึกจะถือกระเป๋าล่อให้ไก่ตัวซ้อมวิ่งไล่เป็นทางตรง และวงกลม เวียนซ้ายวนขวา เอาไก่ซ้อมเข้าคลุกให้รู้จักหลบหลีก และปล่อยให้ไก่ดีไก่ล่อบ้าง เพื่อจะได้ใจ ใช้เวลาประมาณ 15 นาที

ติดตามข่าวสารไก่ชนเพิ่มเติม ได้ที่ เพจไก่ชน

กลุ่มพูดคุยทั่วไป แลกเปลี่ยนข้อมูล ได้ที่ @kaichonth

รวมไฮไลท์คลิปไก่ชน ที่นี่ที่เดียว ช่องไก่ชน

รับชมถ่ายทอดสดไก่ชนทุกวัน ได้แล้วที่ เว็บไก่ชน

Picture of adminmkt

adminmkt