โรคของไก่ชนและวิธีการป้องกัน
เมื่อไก่ได้รับเชื้อนี้เข้าไปจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2 – 4 วัน ในลูกไก่ และอาจนาน ถึง 2 สัปดาห์ในไก่ใหญ่
อาการ 1. ทางระบบหายใจ ไก่ป่วยจะแสดงอาการไอหรือจามเป็นหวัด มีน้ำมูกเกิดอาการทางระบบประสาท ไก่จะมีอาการคอบิด ชอบยืนเอาหัวซุกใต้ปีก เดินเป็นวงกลม เดินถอยหลัง และกระตุก เปอร์เซ็นต์การตายสูงมากในช่วง 2 – 3 วันแรก เป็นอาการที่เกิดตามมา หลังจากแสดงอาการทางระบบหายใจ
เกิดอาการทางเดินอาหาร ไก่จะถ่ายมูลเหลวสีค่อนข้างเขียวหรือเหลือง การรักษา โรคนี้ไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผล เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสนอกจากจะใช้ยาปฏิชีวนะผสม น้ำให้ไก่กินทั้งฝูง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนเท่านั้น
วิธีการป้องกัน
1. แยกไก่ที่ป่วยออกจากฝูงให้เร็วที่สุด
ทำวัคซีนป้องกันโรคตามโปรแกรมที่กำหนด
โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ
สาเหตุ อาจเกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา (Corona virus) ที่อยู่ใน
ระยะการติดต่อ โรคนี้ติดต่อได้ทางอากาศ ไก่ป่วยเป็นพาหะและโดยมีสิ่งนำพาอื่น ๆ ระยะฟักตัว ประมาณ 18 – 36 ชั่วโมง
การมีอาการ หากไก่ป่วยเป็นโรคนี้จะหายใจลำบาก มีเสียงดังครืดคราดในหลอดลม น้ำมูกไหล ไก่จะ อ้าปาก ไอ หายใจถี่ ๆ บางครั้งมีน้ำตาไหล ไก่จะไม่แสดงอาการทางระบบประสาทเหมือนโรคนิวคาสเซิล ในกรณีที่เกิดกับไก่ในระยะกกอาจทำให้อัตราการตายสูงถึง 30% ของฝูง ถ้าเป็นในไก่ไข่ ทำให้ผลผลิตไข่ลดลง ขนาดไข่เล็กลง มีรูปร่างผิดปกติ เปลือกไข่บางขรุขระและแตกง่าย คุณภาพภายในฟองไข่เหลวลง ไข่ขาวเหลวเป็นน้ำ
วิธีการรักษา ในโรคนี้ยังไม่มียารักษาโรคนี้ที่ได้ผล แต่ควรใช้ยาปฏิชีวนะและวิตามินผสมอาหารหรือ ละลายน้ำให้ไก่กิน เพื่อป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อน เช่น โรคทางระบบหายใจ และโรคท้องร่วง
การป้องกัน 1. แยกไก่ที่ป่วยออกจากฝูง
อย่าให้เล้าชื้นแฉะและปรับระบบการระบายอากาศในโรงเรือนให้ดี
ทำวัคซีนป้องกันโรคตามโปรแกรมที่กำหนด
โรคของกล่องเสียงอักเสบติดต่อ
สาเหตุการติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากเชื้อเฮอปี่ไวรัส (Herpes virus) Family Herpesviridae, Subfamily Alphaherpesvirinae มีเพียงซีโรไทป์เดียวคือ Gallid herpesvirus I
การติดต่อ ไก่ที่เป็นโรคเป็นพาหะนำโรค ซึ่งแพร่กระจายทางอากาศ และมีสิ่งนำพาอื่น ๆ
ระยะการฟักตัว ประมาณ 6 – 12 วัน จะมีอาการไอ จาม หายใจลำบาก ยืดคอเวลาหายใจ บางครั้งหายใจมีเสียงดัง มีเสมหะปนออกมาเวลาไก่สะบัดหัว ไก่ไข่ลด และบางครั้งอาจมีน้ำตาไหล
วิธีการรักษา โรคนี้ไม่มีการรักษาที่ได้ผล เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสนอกจากจะใช้ยาปฏิชีวนะหรือไว ตามินผสมน้ำให้ไก่กินทั้งฝูง เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนเท่านั้น
วิธีการป้องกัน 1. ควรรักษาความสะอาดของโรงเรือนไม่ให้อับทึบ 2. ควรใช้วัคซีนป้องกันโรคตามโปรแกรมที่กำหนด
โรคมาเร็กซ์(Marek’s disease)
การติดเชื้อจาก เชื้อไวรัสเฮอร์ปี่ (Lymphotropic herpes virus) มี 3 ซีโรไทป์
อาการและการติดต่อ เชื้อไวรัสจะหลุดออกมาพร้อมกับแผ่นสะเก็ดจากผิวหนังไก่ป่วย ไก่ตัวอื่นติดโรคจาก การหายใจเอาสะเก็ดนี้เข้าไป อาการของไก่ป่วยจะแสดงอาหารในระยะแรก ๆ คล้ายกับไก่ขาอ่อน ขั้นต่อไป อาจถึงอัมพาตเดิน ไม่ได้และมีอาการปีกตก หางตก กล้ามเนื้อคอบิดเบี้ยว รูขุมขนขยายใหญ่ นัยน์ตามีสีเทา
วิธีการรักษา ไม่มีวิธีรักษา การป้องกัน ทำวัคซีนป้องกันโรคมาเร็กซ์เมื่ออายุ 1 วัน เพียงครั้งเดียว ทำความสะอาดโรงเรือน เพื่อไม่ให้มีเชื้อตกค้างอยู่
ติดตามข่าวสารไก่ชนเพิ่มเติม ได้ที่ เพจไก่ชน
กลุ่มพูดคุยทั่วไป แลกเปลี่ยนข้อมูล ได้ที่ @kaichonth
รวมไฮไลท์คลิปไก่ชน ที่นี่ที่เดียว ช่องไก่ชน
รับชมถ่ายทอดสดไก่ชนทุกวัน ได้แล้วที่ เว็บไก่ชน